วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)
               แลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับ-ส่งเอกสาร    จากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ ระบบ EDI จะต้องใช้รูปแบบของเอกสารที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้หน่วยงานทางธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              สำหรับมาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน คือ มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transport) ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
                
              ตัวอย่างของเอกสารที่นำมาใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยระบบ EDI เช่น ใบสั่งซื้อสินค้า ใบเสนอราคา ใบกำกับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี เป็นต้น
              บริษัทผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) เป็นองค์กรที่ให้บริการ EDI ทางการค้าระหว่างประเทศแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ซึ่งได้ แก่ กรมศุลกากร บริษัทการบินไทย (มหาชน) จำกัด การท่าเรือแห่งประเทศไทย และกรมการค้าต่าง ประเทศ ตลอดจนผู้ใช้ในภาคเอกชน

ประโยชน์ของการใช้ระบบ EDI
1.ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร

2.ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง
และลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน
3.เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
4.ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร
5.แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา

ความสัมพันธ์ของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์, โทรทัศน์, วิทยุ, หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อินเทอร์เน็ตและอิเล็กทรอนิกส์

ความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
   - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI)ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้มีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า

ความหมาย
  - พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 
แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ปัจจัยทางการบริหาร
โครงสร้างพื้นฐาน 

ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้
สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products) 
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B
โมเดลของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to B มีหลายแบบ ที่สำคัญได้แก่ Seller oriented marketplace, และ Intermedialy-Oriented marketplace (Turban et al., 2000)
Seller oriented marketplace
ตามโมเดลนี้องค์การจะพยายามขายสินค้า/บริการของตนให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
Buyer-Oriented Marketplace
โมเดลนี้มีจุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูลจากนั้นธุรกิจก็จะเสนอประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อประกาศผู้ที่สามารถประมูลไปได้ 
Intermedialy-Oriented marketplace 
โมเดลนี้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยทำหน้าที่ในการสร้างตลาดขึ้นมา 

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B to C
แอพพลิเคชั่นของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบ B to C
ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
การโฆษณา
แคตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic catalog)
ธนาคารไซเบอร์ (Cyberbanking) หรือ Electronic banking หรือ Virtual bangking
ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
การท่องเที่ยว 
อสังหาริมทรัพย์
การประมูล (Auctions)

ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต
ขั้นตอนของการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตแบบ B to B มี 5 ขั้นตอน คือ 
การค้นหาข้อมูล
การเลือกและการต่อรอง
การซื้อสินค้า/บริการทางอินเทอร์เน็ต
การจัดส่งสินค้า/บริการ
การบริการหลังการขาย

พฤติกรรมของลูกค้า
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าอยู่ 2 ประเภท คือ 
ตัวบุคคล 
องค์การ 

การวิจัยทางการตลาด
การวิจัยทางการตลาดที่ต้องการหาแรงจูงในที่ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้า/บริการบนอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากขึ้นโมเดลในการทำวิจัยเพื่ออธิบายพฤติกรรมของลูกค้า

โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคนิค (Technical Infrastructure)
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์จำนวนมาก องค์ประกอบที่สำคัญ คือ เครือข่าย เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) การสนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ และซอฟท์แวร์ที่ใช้ทำธุรกรรม และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (E-checks)
เครดิตการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic credit cards)
การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic cash หรือ Digital cash หรือ e-money)
การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer-EFT)

การสนับสนุนการบริการอื่น ๆ ให้ลูกค้า 
มีเครื่องมือหลายประเภทที่ให้บริการลูกค้าออนไลน์ได้ เช่น 
เว็บเพจส่วนตัว (Personalized web Page) 
ห้องสนทนา (Chat rooms)
อีเมล์ (E-mail)
FAQs (Frequent Answers and Questions) 
ความสามารถในการติดตามงาน (Tracking Capabilities)
ศูนย์โทรศัพท์โดยใช้เว็บ (Web-based call centers) 

การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (security requirements)
ความสามารถในการระบุตัวตนได้ (Anthentication)
ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล (Integriry)
ความไม่สามารถปฏิเสธได้ (Non-repudiation)
สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)
ความปลอดภัย (Safety) 

วิธีการรักษาความปลอดภัย
การใช้รหัส (Encryption)
ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic certificate)
โปรโตคอล (Protocols)

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีทั้งในระดับบุคคล องค์การ สังคม และระบบเศรษฐกิจ
ประโยชน์ต่อบุคคล 
ประโยชน์ต่อองค์การ/ธุรกิจ
ประโยชน์ต่อสังคม
ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ

ข้อจำกัดเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อจำกัดด้านเทคนิค
ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
ข้อจำกัดด้ายเศรษฐกิจ
ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ 


http://elearning.northcm.ac.th/mis/content.asp?ContentID=85&LessonID=13